Page 6 - รายงานกรณีศึกษาห้วยขาแข้ง
P. 6

ผลการด าเนินงาน


           2.1 การวิจัยด้านสัตว์ป่าและสภาพแวดล้อมของสัตว์ป่าที่มีประโยชน์ต่อการพัฒนาห้วยขาแข้ง
                 ปัจจุบันประชากรเสือโคร่งของโลกมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง คาดว่าทั่วโลกมีจ านวนประชากรเสือโคร่งในป่า
         ไม่เกิน 4,000 ตัว โดยปัจจัยคุกคามหลักต่อการอยู่รอดของประชากรเสือโคร่งมีสาเหตุจากการลดลงของพื้นที่ป่าไม้

         การลักลอบล่าเสือโคร่งและสัตว์ป่าที่เป็นเหยื่อ
                ปฏิญญาเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กด้านการอนุรักษ์เสือโคร่ง ในการประชุมสุดยอดผู้น าของประเทศที่เป็นแหล่งอาศัยของ
         เสือโคร่ง 13 ประเทศ ได้แก่ รัสเซีย จีน อินเดีย เนปาล ภูฏาน บังกลาเทศ พม่า ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา มาเลเซีย และ
         อินโดนีเซีย เมื่อปี 2553 ณ นครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ประเทศรัสเซีย ได้มีการรับรองปฏิญญาเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กด้านการ

         อนุรักษ์เสือโคร่ง เพื่อประกาศเจตนารมณ์ที่จะด าเนินงานกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อการอนุรักษ์เสือโคร่งของโลกโดยมีเป้าหมายจะ
         เพิ่มจ านวนประชากรเสือโคร่งในโลกเป็นสองเท่าในปี 2565

                สถานการณ์เสือโคร่งในประเทศไทยในภาพรวมเมื่อเทียบกับประเทศอื่นใน 13 ประเทศที่มีประชากรเสือโคร่งอยู่
         ในธรรมชาติ นับว่าไทยยู่ในเกณฑ์ดีที่สุด โดยประเทศไทยมีประชากรเสือโคร่งอยู่ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ประมาณ 150 - 200 ตัว
         โดยส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในผืนป่าตะวันตกและผืนป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่
                 สถานีวิจัยสัตว์ป่าเขานางร า ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง เริ่มท าการวิจัยเสือโคร่งมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547

         มีการเก็บข้อมูลเสือโคร่งในรัศมี 400 ตารางกิโลเมตร จนกระทั่งปี พ.ศ. 2550 ได้มีการเก็บข้อมูลเสือโคร่งอย่างเป็นระบบ
         โดยการติดตามตรวจวัดสถานภาพของประชากรเสือโคร่ง และการศึกษานิเวศวิทยาและพฤติกรรมเสือโคร่ง

                      Distribution                     Population                         Ecology

                    Landscape scale                      Core site                      Source site
                  (Occupancy survey)                (Camera trapping)                (Radio Telemetry)



                 จากการส ารวจด้วยกล้องดักถ่ายภาพอย่างเป็นระบบ พบว่า มีเสือโคร่งที่ถ่ายภาพได้ในผืนป่ามรดกโลกห้วยขาแข้ง -
         ทุ่งใหญ่นเรศวร มีจ านวนเพิ่มขึ้นจาก 41 ตัว ในปี 2553 เป็น 77 ตัวในปี 2562 ซึ่งเพิ่มขึ้นกว่า 50% โดยมีประชากรเสือ
         โคร่งที่ประเมินได้อยู่ที่ 80 - 100 ตัว ในผืนป่ามรดกโลกห้วยขาแข้ง - ทุ่งใหญ่นเรศวร และยังพบว่าเสือโคร่งในพื้นที่ มีการ

         ขยายพันธุ์ทุกปีและมีการกระจายพันธุ์ไปอาศัยอยู่ในพื้นที่คุ้มครองอื่นโดยรอบในป่าตะวันตก
                 ปัจจัยส าคัญต่อการด ารงอยู่และการเพิ่มประชากรเสือโคร่ง ได้แก่

                 1)  พื้นที่ ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของเสือโคร่งในผืนป่าหลายพื้นที่โดยเฉพาะห้วยขาแข้ง
                 2)  ปริมาณเหยื่อของเสือ เช่น วัวแดง กระทิง กวาง เก้ง เป็นต้น และแหล่งอาหาร/แหล่งน้ า
                 3)  การเฝ้าระวังและปราบปรามการลักลอบล่าเสือ โดยระบบการลาดตระเวนเชิงคุณภาพ (smart patrol system)
                 4)  การสร้างจิตส านึกให้ชุมชนที่อยู่โดยรอบ โดยเฉพาะเยาวชน เห็นความส าคัญของการอนุรักษ์ป่าและสัตว์ป่า














             ซากวัวแดง 1 ตัว นอนตายอยู่ในสภาพตัวเหลือครึ่งท่อน ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าห้วยทับเสลา-ป่าห้วยคอกควาย
                                                ต.ระบ า อ.ลานสัก จ.อุทัยธานี
                                                            2
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11