Page 8 - รายงานกรณีศึกษาห้วยขาแข้ง
P. 8

ปัจจัยส าเร็จ/จุดเด่นในการด าเนินงาน


           3.1 การวิจัยด้านสัตว์ป่าและสภาพแวดล้อมของสัตว์ป่าที่มีประโยชน์ต่อการพัฒนาห้วยขาแข้ง
                 1)  การด าเนินการอนุรักษ์ป่าไม้และสัตว์ป่า โดยใช้ข้อมูลจากงานวิจัยเป็นฐานข้อมูลสนับสนุนการด าเนินการ
                 2)  ความร่วมมือระหว่างเจ้าหน้าที่ นักวิจัย และภาคเอกชนเพื่ออนุรักษ์เสือโคร่งมีความเข้มแข็ง การได้รับเงินทุนสนับสนุน

         ในการวิจัยจากภาคเอกชน ภาครัฐ และนานาชาติ รวมทั้งการปลูกฝังการอนุรักษ์ป่าไม้และเสือโคร่งให้แก่เยาวชนและชุมชน
                 3)  ระบบการบริหารจัดการพื้นที่ป่าไม้ที่มีประสิทธิภาพ ด้วยการลาดตระเวนเชิงคุณภาพ การปฏิบัติงานที่ทุ่มเทและ
         เสียสละของเจ้าหน้าที่/นักวิจัย/หน่วยงานที่รับผิดชอบ ส่งผลต่อการอนุรักษ์ป่าไม้และเสือโคร่งประสบผลส าเร็จ

                 4)  มีบุคคลต้นแบบในการอนุรักษ์ป่าไม้และสัตว์ป่า














                                                     สืบ นาคะเสถียร
                 5)  นโยบายภาครัฐที่มีส่วนสนับสนุนปัจจัยแห่งความส าเร็จ ประกอบด้วย

                   5.1) การอนุรักษ์พื้นที่ป่า และสัตว์ป่า กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (กระทรวงทรัพย์ฯ)
         ตระหนักดีว่า พื้นที่ป่าเป็นต้นก าเนิดของต้นน้ าล าธาร และมีความส าคัญด้านสิ่งแวดล้อมที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่ง
         ประเด็นนี้เป็นประเด็นที่ส าคัญที่สุดของงานนโยบายการอนุรักษ์ธรรมชาติ ป่าไม้ และสัตว์ป่า ทั้งนี้ พื้นที่ป่าของไทยมีการสูญเสีย

         อย่างมาก ในปัจจุบันเหลือพื้นป่าในประเทศไทย มีทั้งผืนป่าขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ ซึ่งกระจายตัวอยู่ทั่วประเทศ มีพื้นที่ราว
         102 ล้านไร่ (ประมาณ 19 ผืนป่า) โดยอยู่ภายใต้การดูแลของกรมอุทยานฯ อย่างไรก็ตาม พื้นที่ 102 ล้านไร่นั้น คิดเป็น
         ร้อยละ 35 ของประเทศไทยเท่านั้น จากปัญหาดังกล่าวกระทรวงทรัพย์ฯ มีเป้าหมายที่จะรักษาพื้นที่ป่าไว้ โดยใน 20 ปีนี้จะต้อง

         เพิ่มพื้นที่ป่าให้ได้ร้อยละ 35 ซึ่งหากมีแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่ามากเท่าไรก็จะดีต่อความหลากหลายทางชีวภาพ โดยกรม
         อุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช พยายามที่จะเชื่อมต่อผืนป่า สภาพระบบนิเวศ เพื่อเพิ่มศักยภาพ รวมทั้งรองรับการ
         เปลี่ยนแปลงป่าไม้ในอนาคต

                   5.2)  นโยบายคนอยู่กับป่า รัฐบาลและกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้ความส าคัญกับเรื่องการ
         แก้ไขปัญหาการบุกรุกป่า โดยเฉพาะพื้นที่ป่ากันชน ซึ่งพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 และพระราชบัญญัติสงวน
         และคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 ได้ให้ความส าคัญในการแก้ไขปัญหาเรื่องนี้และเปิดโอกาสให้ชุมชน ประชาชนสามารถอยู่กับ

         ป่าได้ “แนวคิดพื้นที่กันชน หรือ buffer zone คือ ป่าอยู่ได้คนอยู่ได้ คนที่อยู่ในป่าต้องอยู่ภายใต้วิถีชีวิตที่เป็นมิตรกับ
         สิ่งแวดล้อม เป็นมิตรกับป่า อยู่แบบพอเพียง อยู่แบบพอดีและมีส่วนร่วม”
                   5.3) การค้าสัตว์ป่าที่ผิดกฎหมาย ซึ่งตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 ได้มีการเพิ่ม

         โทษทั้งโทษจ าและโทษปรับเป็นระดับล้านบาทในการป้องปรามการน าเข้า ส่งออก และน าผ่าน รวมทั้งการกระท าผิดการค้า
         สัตว์ป่าทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงการก ากับควบคุมสัตว์ป่าที่อยู่ในกรง ซึ่งรวมทั้งเสือด้วย หากก ากับไม่ดีอาจจะเกิดปัญหา
         มีผลกระทบต่อการยอมรับของสังคม ภาพลักษณ์ของประเทศและสุขภาพอนามัยของประชาชน
                                                            4
   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13