› สนง.ปลัดกระทรวงมหาดไทย
› หน่วยงานระดับกรม
› รัฐวิสาหกิจในสังกัด
› จังหวัด
หน่วยงานราชการต่าง ๆ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ประวัติความเป็นมา

                                    กระบวนการบริหารราชการมีลักษณะเช่นเดียวกับกระบวนการบริหารงานทั่วๆไป คือ ประกอบด้วย ส่วนสำคัญ 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนการวางแผน ส่วนการนำแผนไปปฏิบัติ และส่วนของการควบคุมประเมินผล ในส่วนของการควบคุมประเมินผลนั้น กระทำได้หลายวิธี ซึ่งการตรวจราชการเป็นวิธีหนึ่งของการควบคุม หรือกำกับดูแลการบริหารราชการ ของผู้บังคับบัญชา แต่เนื่องจากปริมาณงานมีมากผู้บังคับบัญชาผู้เดียว จึงไม่สามารถที่จะทำหน้าที่ในการตรวจราชการ ได้อย่างทั่วถึง และสม่ำเสมอ จึงจำเป็นต้องมอบหมายให้บุคคลอื่น ซึ่งได้แก่ ผู้ตรวจราชการ ออกไปปฏิบัติหน้าที่แทนตน และนำผลจากการ ตรวจราชการ นั้นมาวินิจฉัยสั่งการ หรือให้หน่วยงานถือปฏิบัติเพื่อให้แผนงานโครงการบรรลุผลตามเป้าหมาย “การตรวจราชการ” นับว่าเป็น กระบวนการอันสำคัญสำหรับการบริหารงานเป็นกลไกที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับการวินิจฉัยสั่งการของผู้บังคับบัญชา
ทุกระดับการตรวจราชการของผู้ตรวจราชการสามารถเป็นตัวชี้วัดที่สะท้อนให้เห็นถึงประสิทธิภาพ การปฏิบัติงาน และการดำเนินงานของส่วนราชการในหน่วยงานต่างๆ ที่อยู่ในสังกัดได้เป็นอย่างดีนอกจากนี้ การตรวจราชการ ยังมีความหมายที่จะให้ได้มาซึ่ง ข้อเท็จจริง ในการปฏิบัติราชการ ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น อันเป็นประโยชน์ต่อรัฐ หรือผู้บริหาร ที่จะได้รับทราบ และแก้ไขปัญหาต่างๆ เพื่อให้การปฏิบัติราชการได้บรรลุผล และสมประโยชน์ต่อ
ทางราชการ การตรวจราชการ จะเป็นไปในทางเสริมสร้าง ตามหลักการบริหารซึ่งมีหลักในการดำเนินการ 
โดยใช้วิธีการประสานงาน การแก้ไขปัญหา และปรับปรุงงานโดยวิธีการ ให้คำแนะนำ ปรึกษา และการส่งเสริมขวัญและกำลังใจ ของเจ้าหน้าที่รัฐ มิใช่มุ่งเพื่อจับผิด ในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ เป็นประการสำคัญการตรวจราชการที่มีประสิทธิภาพจะช่วยให้รัฐบาล หรือผู้บริหารได้ทราบ ถึงสถานการณ์ และข้อเท็จจริงในการบริหารราชการ ได้อย่างชัดเจน ข้อเสนอและ ความเห็น ของผู้ตรวจราชการ ที่ผ่านการกลั่นกรอง อย่างรอบคอบ และเป็นระบบจะทำให้การตัดสินใจ สั่งงานได้ง่ายขึ้นและ ลดความผิดพลาด 
ที่อาจมีขึ้น หรืออาจกล่าวได้ว่า ระบบการตรวจราชการที่มีประสิทธิภาพจะช่วยสนองนโยบายของรัฐบาล 
ได้เป็นอย่างดี ในทางตรงกันข้ามการตรวจราชการ ที่ไม่มีประสิทธิภาพ นอกจากจะทำให้เกิดความล่าช้า 
สิ้นเปลืองแล้ว ยังอาจเป็นผลเสียแก่การควบคุม การปฏิบัติราชการ และการวินิจฉัยสั่งการของผู้บริหาร หรืออาจกล่าวได้ว่า การตรวจราชการเป็น “กลไกสำคัญอย่างหนึ่งในระบบบริหาร ที่จะช่วยเหลือผู้บังคับบัญชา โดยการเป็นหู เป็นตา ให้แก่ ผู้บังคับบัญชา ซึ่งกระทำด้วยการตรวจติดตาม เร่งรัดกำกับ ดูแลให้คำแนะนำ การปฏิบัติงาน ของหน่วยงานให้สามารถ ปฏิบัติหน้าที่ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และบรรลุตามเป้าหมาย” 
                  สำหรับในส่วนของกระทรวงมหาดไทย ซึ่งมีหน้าที่ในการ “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” ให้แก่ราษฎรนั้นได้
มีการตรวจติดตาม ผลการปฏิบัติงาน ของเจ้าหน้าที่ของหน่วยรับผิดชอบทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคมา
โดยตลอด โดยกระทำในรูป ของการตรวจราชการของผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย ผู้ตรวจราชการกรม จะเห็นได้ว่า กระทรวงมหาดไทย ได้ให้ความสำคัญ ในการให้มีการตรวจติดตามผลการปฏิบัติงานทุกระดับ ทั้งนี้เพื่อประสิทธิภาพของงาน และก่อให้เกิดคุณประโยชน์ต่อประชาชนอย่างแท้จริง นอกจากนี้ผู้ตรวจราชการของกระทรวงมหาดไทยทุกระดับ โดยภารกิจหน้าที่แล้วนอกจากการตรวจ ติดตาม กำกับ ดูแล เร่งรัดการปฏิบัติงานของหน่วยงานแล้ว ยังมีหน้าที่ในการ ประสานงาน ระหว่างราชการส่วนกลางกับส่วนภูมิภาค และกับประชาชนในชนบท เพื่อให้สามารถเข้าใจในบทบาท และภารกิจหน้าที่ของตน ได้รับรู้แนวนโยบาย รวมทั้งการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ตรงตามเป้าหมาย
                ในการตรวจราชการของผู้ตรวจราชการนั้น หากผู้ตรวจราชการ ตรวจพบและเห็นว่าการปฏิบัติงานใด ๆ 
ถ้าปล่อยให้ดำเนินการต่อไป จะเป็นการเสียหายแก่ราชการ หรือประโยชน์ของประชาชนอย่างร้ายแรง ก็ให้มีอำนาจสั่งยับยั้งการปฏิบัติงานนั้นไว้ก่อน โดยสั่งเป็นลายลักษณ์อักษร แล้วรีบรายงานผู้บังคับบัญชาโดย
ด่วนที่สุด ตามอำนาจหน้าที่ของ ผู้ตรวจราชการตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายและระเบียบดังกล่าว

 

 

 

 

 

 

 


Inspection And Grivances Bureau
Best Viewed with Microsoft Internet Explorer 5.0 and Chrome or better @ 1024x768 Resolution High Color Text Size Smaller
Contact Tel: 0-2221-1126
Hotline : 50457 Email Address : moi0205.2@hotmail.com